วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ไผ่ข้าวหลาม

ไผ่ข้าวหลาม

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cephalostachyum pergracile
ชื่อวงศ์ Gramineae
ชื่อสามัญ -
ชื่อทางการค้า -
ชื่อพื้นเมือง ไม้ข้าวหลาม (ทั่วไป) ไม้ป้าง (ภาคเหนือ) ขุยป้าง (เชียงใหม่) ว่าบลอ (กะเหรี่ยง) แม่พล้อง (กระเหรี่ยง กาญจนบุรี)

เป็นไผ่ขนาดกลาง ลำต้นลักษณะตรง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-8 ซม. เนื้อลำบางหนาไม่ถึง 5 มม. ปล้องยาวประมาณ 20-45 ซม. สูงประมาณ 7-30 ซม. มีสีเขียวปนเทา กาบมีสีหมากสุก กาบหุ้มลำหลุดร่วงง่าย มีการแตกกิ่งขนาดเท่า ๆ กันรอบข้อ

รูปทรง (เรือนยอด)

ใบ เป็นรูปลิ่มยาว 15-30 ซม. กว้าง 3-6 ซม. ขอบใบสากคม ครีบใบเห็นได้ชัดมาก ขอบมีขนสีจาง ๆ กระจังใบแคบมาก กาบหุ้มใบไม่มีขนหรือเกือบไม่มีขน ขอบกาบหุ้มใบมีขนสีขาว ๆ โคนใบกลม

ดอก จะออกดอกเป็นกลุ่ม(Gregariour flowering)ไม้ไผ่ที่ออกดอกประเภทนี้ จะออกดอกพร้อมๆกัน ครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง

สี -
กลิ่น -
ออกดอก-
ผล หน่อมีขนาดใหญ่
ผลแก่ -

ในธรรมชาติมักจะพบขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม ๆ ในป่าเบญจพรรณผสมสูงแล้ง ป่าเบญจพรรณผสมสูงชื้น ป่าดงดิบแล้ง และป่าดงดิบชื้น มีมากในประเทศไทย ซึ่งจะพบได้ทางภาคเหนือตอนเหนือของจังหวัดกาญจนบุรี และภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางส่วน

การขยายพันธุ์และการผลิตกล้า แยกเหง้าและเพาะเมล็ด ปริมาณเมล็ด/1 กิโลกรัม ประมาณ 37,000 เมล็ด

ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูก -

ดิน -

ความชื้น ต้องการความชื้นสม่ำเสมอตามบริเวณที่มีลำธาร และลำน้ำ

แสง -

การปลูกดูแลบำรุงรักษา

การคัดเลือกพื้นที่และเตรียมพื้นที่ปลูก ควรเตรียมพื้นที่ไว้ตั้งแต่ฤดูแล้ง ซึ่งจะทำงานได้สะดวกสามารถลงมือปลูกได้ทันในต้นฤดูฝน โดยในพื้นที่ที่เป็นแอ่ง ที่ลุ่มน้ำขัง มีเนิน หรือมีตออยู่ในพื้นที่ต้องไถบุกเบิก กำจัดตอออกให้หมด ปรับสภาพพื้นที่ให้เรียบ แต่ถ้าเป็นพื้นที่ราบอยู่แล้ว แค่ไถพรวนกำจัดวัชพืชอย่างเดียวก็พอ ในแหล่งที่สามารถให้น้ำได้ตลอดทั้งปี ก็สามารถปลูกไผ่ได้ตลอดปีเช่นกัน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือควรปลูกตั้งแต่ฝนเริ่มตก จนถึงปลายเดือนมิถุนายน หากฝนทิ้งช่วง ควรให้น้ำช่วย หลุมที่ปลูกไผ่ตงควรมีขนาด กว้างxยาวxลึก ไม่น้อยกว่า 50x50x50 เซนติเมตร ให้ใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟต 1 กระป๋องนม (ประมาณ 300-500 กรัม) ต่อหลุม ผสมปุ๋ยคอกเก่าที่สลายตัวแล้ว 1 บุ้งกี๋ (ประมาณ 1 กิโลกรัม) และยาฆ่าแมลงฟูราดาน 1-1.5 ช้อนแกง (10-15 กรัม) คลุกเคล้ากับดินบนให้ทั่วแล้วกลบกลับคืนลงไปในหลุม ให้ระดับดินสูงกว่าเดิมเล็กน้อยเผื่อสำหรับดินยุบตัวภายหลัง

วิธีการปลูกและระยะปลูกที่เหมาะสม ระยะเวลาที่เหมาะ ต่อการปลูกไผ่ อยู่ในช่วงฤดูฝน คือ ระหว่างเดือนพฤษภาคม - กันยายน เนื่องจาก ช่วง ระยะที่เริ่มปลูกไผ่ต้องการน้ำมาก การปลูกในช่วง ฤดูฝน จึงลด ค่าใช้จ่าย ในการรดน้ำ ลงได้มาก และเป็นระยะที่ไผ่มีการเจริญเติบโตดีที่สุดด้วย สำหรับ ระยะปลูก และจำนวน กล้าไผ่ต่อพื้นที่ ควรมีระยะปลูกประมาณ 8 x 8 เมตร หรือประมาณ 25 กอต่อไร่ หลุมที่ ี่ปลูก มีขนาดประมาณ 50 x 50 x 50 เซนติเมตร

โรคและแมลง มีโรคแมลงและศัตรูธรรมชาติ เหมือนกับโรคแมลงและศัตรูธรรมชาติของไผ่เลี้ยง

อัตราการเจริญเติบโต มีอัตราการเจริญเติบโต เหมือนกับอัตราการเจริญเติบโต ของไผ่เฮียะ

การเก็บรักษา มีวิธีการเก็บรักษา เหมือนกับการเก็บรักษาของไผ่เลี้ยง

การแปรรูป ลำอายุประมาณ 6-10 เดือนใช้ทำกระบอกข้าวหลาม เครื่องจักสานต่าง ๆ ลำแก่ใช้ในการสร้างบ้านเรือน โดยมากใช้ทำกลอนหลังคา สานเป็นฝาหรือเพดาน เป็นเสื่อแทนพรมปูบ้าน

การตลาด -

การบริโภค -

การนำเข้า -

การส่งออก -

การใช้ประโยชน์ทางด้านเนื้อไม้ ลำอายุประมาณ 6-10 เดือนใช้ทำกระบอกข้าวหลาม เครื่องจักสานต่าง ๆ
การใช้ประโยชน์ทางด้านนิเวศน์ -

การใช้ประโยชน์ทางด้านภูมิสถาปัตย์ ลำแก่ใช้ในการสร้างบ้านเรือน โดยมากใช้ทำกลอนหลังคา สานเป็นฝาหรือเพดาน เป็นเสื่อแทนพรมปูบ้าน

การใช้ประโยชน์ทางด้านโภชนาการ รับประทานได้แต่มีรสขม

การใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร

การที่ไม้ไผ่มีอายุขัยในการออกดอกและผลิตเมล็ดยาวนาน ไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ มีอายุขัยในการออกดอกแตกต่างกัน บางชนิดใช้เวลานาน 30-50 ปี ในขณะที่บางชนิดใช้เวลานานกว่า ร้อยปี อายุขัยในการออกดอกที่ยาวนานและไม่สม่ำเสมอเช่นนี้ เป็นอุปสรรคในการเก็บหาและรวบรวม ตัวอย่างที่จำเป็นในการจำแนกพันธุ์อย่างยิ่ง และข้อเสนอแนะ การทำสวนไผ่นั้นใช้เวลานานถึง 3 ปี จึงจะตัดหน่อได้ ช่วงเวลาที่ยังไม่ได้ตัดหน่อ พื้น ที่ว่างอาจปลูกพืชแซมเพื่อเพิ่มรายได้ เช่น ฟัก แฟง มันเทศ พริก มะเขือ หรือพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ และ ยังเป็นการเพิ่มธาตุอาหารแก่ดินอีกด้วย หลังจากไผ่ให้หน่อแล้วภายในสวนอาจร่มครึ้มมากขึ้น จึง เหมาะสำหรับปลูกไม้ประเภทต้นเตี้ยที่ขึ้นได้ดีในที่ร่ม เช่น กระชาย หรืออาจปลูกพืชเศรษฐกิจใหม่ ๆ เช่น สมุนไพรจำพวกเร่วและกระวานลงในสวนได้ หรือปลูกควบกับไม้ผลอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น กระท้อน ขนุน ส้มโอ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น: