วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สวนไผ่จีนเขียวเขาสมิง

สวนไผ่จีนเขียวเขาสมิง


Add a comment June 19th, 2009 NEWS

คนรักไผ่: ชมรมไผ่เศรษฐกิจไทย เยี่ยมสมาชิก สวนไผ่จีนเขียวเขาสมิง ที่ ศูนย์ฯ น่าน

สวัสดี ครับท่าน…พบกันอีกเช่นเคย ผู้ที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ แฟนประจำ และสมาชิกของนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านที่รักทุกท่านและรวมถึงสมาชิกชมรมไผ่เศรษฐกิจไทยทุกคน ฉบับที่ 455 ทางชมรมมีเรื่องราวของสมาชิกที่ปลูกไผ่จีนเขียวเขาสมิงมาเขียนให้ท่านได้ อ่านติดตาม เป็นเรื่องราวของคนชอบไผ่ อย่าง คุณสมศักดิ์ ก่ำเซ่ง ที่น้ำหนาว และในฉบับนี้จะขอนำท่านไปเที่ยวที่จังหวัดน่าน ไปดูซิครับว่าศูนย์ไผ่ที่น่านเขามีบริการเกษตรกรอย่างไร และทำไมผู้เขียนจึงต้องไปที่นั่น โดยเดินทางไปพร้อมกับอาจารย์วัชรินทร์ ดาบเงิน นักวิชาการของชมรมไผ่เศรษฐกิจไทย

เริ่มต้นจากการที่ผู้ เขียนมีความสนใจและปลูกไผ่เพื่อหาประสบการณ์มาเป็นระยะเวลา 8 ปีเต็ม จัดตั้งเป็นชมรมไผ่เศรษฐกิจไทย ดำเนินงานชมรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง หาข้อมูลเรื่องไผ่มาให้คำตอบกับผู้สนใจทั้งในและต่างประเทศ (เนื่องจากนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านมีชื่อในต่างประเทศด้วย โดยเฉพาะแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) เมื่อเดือนกุมภาพันธุ์ 2552 ได้รับข่าวสารประชาสัมพันธ์จากศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัด น่าน (พืชสวน) เป็นหน่วยงานกรมส่งเสริมการเกษตร เชิญชวนผู้สนใจเข้ารับการฝึกอาชีพ โครงการฝึกอาชีพการเกษตรเฉพาะด้าน ปี 2552 หลักสูตรการปลูกไผ่ผลิตลำไม้เพื่ออุตสาหกรรม มีกำหนด 2 วัน วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้สนใจเข้ารับการอบรม แล้วนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้กับวิถีชีวิตและความถนัดของตนเอง เช่น ทราบชนิดของไผ่ การใช้ประโยชน์จากไผ่ การขยายพันธุ์ไผ่ การปลูก ดูแลรักษา การจัดการสวนไผ่ การผลิตลำไม้เพื่ออุตสาหกรรม การผลิตหน่อไม้นอกฤดู ทราบข้อมูลผู้ประกอบการเกี่ยวกับธุรกิจไม้ไผ่ สนใจเรื่องของไผ่และต้องการความรู้เพิ่ม จึงตัดสินใจสมัครเข้ารับการฝึกอาชีพ ได้เข้ารับการฝึกเมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา จากความคิดเดิมๆ ที่มีอยู่ ก็ได้เพิ่มพูนมากกว่าสิ่งที่เราไม่เคยเห็น เคยรับรู้ ก็ได้พบเห็น
วิทยากรที่ให้ความรู้ก็มีประสบการณ์ ทำให้เรามองว่าอีกหลายๆ คนทั่วประเทศ น่าจะมีโอกาสไปเข้ารับการฝึกอาชีพบ้าง

การเดินทางของเรา เริ่มต้นที่เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ผ่านจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดแพร่ เข้าสู่เมืองงาช้างดำ จังหวัดน่าน มุ่งหน้าไปตามถนนสายน่าน-ท่าวังผา-ทุ่งช้าง ประมาณหลักกิโลเมตร ที่ 17-18 ซ้ายมือจะเป็นที่ตั้งของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดน่าน (พืชสวน) เลขที่ 152 หมู่ที่ 2 ตำบลบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน 55000 บรรยากาศสดชื่น เนื่องจากเป็นทะเลภูเขา มีแม่น้ำน่านไหลผ่านไปตามร่องเขา สลับด้วยป่าไม้เบญจพรรณ สวนป่าไม้ไผ่ สวนหย่อม พร้อมด้วยอาคารศูนย์ฝึกอบรม ขนาดบรรจุ 200 คน แปลงสาธิตพืชเมืองหนาว ที่ขาดไม่ได้คือ แปลงสวนไผ่นานาพันธุ์ที่ทางศูนย์ได้รวบรวมไว้เพื่อการศึกษาและอบรมเกษตรกร ผู้สนใจทั่วไป

ณ ที่นี้ ได้พบกับ อาจารย์ประเสริฐ แก้วอินัง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ อาจารย์สมชาย ศิริมาตร นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร พร้อมด้วยทีมเจ้าหน้าที่ที่จัดการอบรมฝึกอาชีพ ให้การต้อนรับดีมาก เนื่องจากเราไปในฐานะผู้สนใจ พร้อมเข้ารับการอบรม

ใน วันแรกจะเป็นการแนะนำ เรื่องความสำคัญทางเศรษฐกิจทางเลือกอาชีพการปลูกไผ่และผลตอบแทน ลักษณะทั่วไปของไผ่ ชนิดและมาตรฐานของไผ่ที่ผลิตเพื่ออุตสาหกรรมต่างๆ ที่ตลาดต้องการ ซึ่งเป็นหน้าที่ของอาจารย์สมชาย ศิริมาตร ภาคบ่าย อาจารย์ประเสริฐ แก้วอินัง พาคณะผู้อบรมไปศึกษาดูงาน การผลิตไม้เส้น ไม้เสียบอาหาร ตะเกียบ ที่โรงงาน 2 โรงงาน ที่อำเภอเมือง และอำเภอเวียงสา ต่อวันที่สอง ด้วยเรื่องการปลูกและการจัดการแปลงไผ่ การขยายพันธุ์ไผ่ ศึกษาดูงานแปลงไผ่ ฝึกการขยายพันธุ์ไผ่ พร้อมพาชมแปลงเศรษฐกิจแบบพอเพียงภายในศูนย์

สิ่งที่ทางชมรมไผ่ เศรษฐกิจไทยให้ความสำคัญมากที่สุดคือ พันธุ์ไผ่ที่จะปลูกและการเลือกปลูกไผ่ให้ตรงกับความต้องการของตลาด ผนวกกับความชอบของตัวผู้ปลูกไผ่ ในการเข้ารับฟังคำบรรยายวันแรก ทำให้เราได้ทราบว่าไผ่ชนิดใด ทำอะไรได้บ้าง ตลาดหรือโรงงานหรือแหล่งใดต้องการไผ่ชนิดใด นี่ต่างหากที่ชมรมกำลังมองว่า หากหน่วยงานหรือชมรมมีการส่งเสริมการปลูกไผ่ คำตอบที่จะให้ผู้สนใจถามก็คือ ปลูกแล้วขายที่ใด คุ้มค่าหรือไม่หากสนใจจะปลูกไผ่ การมาอบรมเองในครั้งนี้เสมือนเป็นการเปิดหูเปิดตา เพื่อที่จะนำมาเผยแพร่แก่ผู้สนใจอาชีพการทำสวนไผ่ มีผู้สนใจสอบถามมา เราก็สามารถให้คำตอบได้

ไผ่ในเชิงอุตสาหกรรม มีหลายสายพันธุ์ แล้วแต่ว่าสายพันธุ์ใดจะมีตลาดและความต้องการ ผนวกกับความนิยมมากกว่ากัน บางท่านอาจจะชอบไผ่ขนาดลำเล็ก ปลูกเพื่อประดับบ้านสวน บางท่านต้องการไผ่กอใหญ่ ปลูกทำเป็นแปลง สวนขนาดใหญ่เพื่อส่งโรงงาน จริงๆ แล้วทางชมรมและศูนย์จะส่งเสริมให้ปลูกไผ่เพื่ออุตสาหกรรมมากกว่าที่จะแนะนำ ให้ปลูกไผ่เพื่อประดับบ้านสวน เพราะเนื่องจากว่าขณะนี้มีผู้ถูกเลิกจ้างงาน คนตกงาน แต่มีที่ดินของตนเอง (มรดก) หรือมีความสามารถในการเช่าที่ดิน ก็สามารถมาเลือกทำอาชีพการปลูกไผ่ได้

บางท่านถามชมรมไปว่า ระหว่างที่รอผลผลิตของไผ่จะทำอะไรเพิ่มเติมดี หากรักที่จะเป็นเกษตรกร ก็ควรจะเริ่มต้นอย่างนี้ครับ โดยเริ่มจากการสร้างสวนไผ่ขนาดเล็ก ประมาณ 1 ไร่ 100 ต้น ก่อน ที่ดินว่างระหว่างต้นไผ่ ปีแรกสามารถปลูกพืชล้มลุกได้ เช่น ผักต่างๆ เลี้ยงสัตว์เล็ก แม้แต่ทำบ่อปลาขนาดเล็กก็ได้ หรือจะเป็นโรงเรือนเพาะเห็ด เป็นเรือนเพาะชำไม้ดอกไม้ประดับ ถึงวันตลาดนัดใกล้บ้านก็นำผลผลิตที่ได้ไปจำหน่าย พูดถึงตลาดนัด ผู้เขียนเองก็ลองนำพันธุ์ไผ่ไปจำหน่ายก็ขายดีได้ ขายปลีกได้วันละ 3-5 ต้น ก็ขาย ได้เงิน 300-500 บาท ดีกว่าอยู่บ้านเฉยๆ หากมีพันธุ์ไม้อื่นๆ ขายร่วมด้วยก็ยึดเป็นอาชีพได้เลย (ขนาดรถเร่รับซื้อของเก่า ยังมีรายได้วันละพันเลย เราอาชีพเกษตรกรรมก็ทำได้ ดูอย่างพี่น้องแถวๆ สกลนคร เพาะชำกล้าผักยืนต้นขายซิครับ รายได้วันละหลายตังค์ครับ)

ชนิดพันธุ์ไผ่ที่ทางชมรมและศูนย์แนะนำมีหลายชนิดด้วยกัน หากเป็นไผ่ปลูกเพื่ออุตสาหกรรมควรปลูกจำพวก
1. ไผ่ซางนวล ใช้ในอุตสาหกรรมไม้ตะเกียบ ไม้เสียบอาหาร ไม้จิ้มฟัน มู่ลี่ เยื่อกระดาษ กระบอกเทียน งานจักสาน
2. ไผ่รวก ใช้ในการเลี้ยงหอยแมลงภู่ นั่งร้าน เรือนเพาะชำชั่วคราว รั้ว คอกสัตว์ บันได
3. ไผ่ข้าวหลาม ใช้งานจักสานทุกชนิด และทำข้าวหลาม
4. ไผ่ซางบ้าน ไผ่ซางหม่น ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์
5. ไผ่หก และไผ่ตงบ้าน ไผ่จีน ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ขนาดใหญ่ โครงสร้างที่ต้องการความแข็งแรง เช่น หลักนั่งร้าน แพเลี้ยงหอย เรือนเพาะชำ บ้าน ที่พัก รีสอร์ต

แต่ถ้าจะปลูกเพื่อการบริโภคหน่อ
1. ไผ่ซางหวาน
2. ไผ่เป๊าะ
3. ไผ่หม่าจู
4. ไผ่ตงเขียว
5. ไผ่บงหวาน
6. ไผ่จีน
7. ไผ่ตงศรีปราจีน
8. ไผ่เลี้ยง

ส่วนไผ่อเนกประสงค์ ที่ใช้ทั้งหน่อและลำต้น
1. ไผ่หก
2. ไผ่จีน
3. ไผ่บง
4. ไผ่เลี้ยง
5. ไผ่รวก

จัดไว้ 3 ประเภท ดังกล่าว ก็สามารถตัดสินใจหามาปลูกกันได้ บางชนิดไม่มีการขยายพันธุ์จำหน่าย อยากจะปลูกต้องเสาะแสวงหาปลูกเองครับ

เนื่อง จากการไปอบรมอาชีพที่ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดน่าน (พืชสวน) ไปในนามของสำนักงานเกษตรอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นหน่วยงานสังกัดกรมส่งเสริมการเกษตร อำเภอเขาค้อ จึงขอร่วมเป็นศูนย์ส่งเสริมอาชีพการปลูกไผ่เขาค้อจังหวัดเพชรบูรณ์ เท่ากับว่าศูนย์น่านมีสาขาที่เพชรบูรณ์ (เมื่อต้นปี 2551 อาจารย์ทรงยศ พุ่มทับทิม ได้ขอใช้พื้นที่ดินว่างเปล่าของสำนักงานเกษตรอำเภอเขาค้อ ปรับปรุงและสร้างเป็นสวนไผ่และไม้ผล พืชผัก ขนาดพื้นที่ ประมาณ 9 ไร่ และจัดเป็นสวนสาธิต เรียกว่า ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ใช้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ในพื้นที่อำเภอเขาค้อและใกล้เคียง รวมทั้งท่านที่สนใจ ที่เดินทางไปเที่ยวบนเขาค้อ) และทางศูนย์ได้มอบพันธุ์ไผ่ซาง ไผ่รวกน่าน ให้ผู้เข้ารับการอบรมติดไม้ติดมือกลับไปปลูกอีกด้วย การอบรมฟรีทุกรายการ ยกเว้นค่าพาหนะเดินทาง เนื่องจากทางราชการมีงบประมาณให้เฉพาะการอบรม อาหารและที่พัก เท่านี้ก็คุ้มค่ามากพอ

สำหรับจำนวนผู้เข้ารับ การอบรม ในปี 2552 ทางศูนย์แจ้งว่า มีโควต้าอบรมเพียง 200 ราย แต่ก็จะดูจากผู้สนใจ หากสมัครเข้ารับการอบรมมาก ก็จะเป็นข้อมูลให้ทางส่วนกลางพิจารณาเพิ่มงบประมาณจัดฝึกอบรมในปีต่อๆ ไป

ช่วง ที่ผ่านมา นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ได้ลงบทความเกี่ยวกับไผ่จีนเขียวเขาสมิง มีผู้สนใจสอบถามกันมากเกี่ยวกับ คุณบุญชู ที่ลงหน้าปก ขอเรียนว่าชมรมเคยแจ้งไปแล้วว่า คุณบุญชู เป็นสมาชิกเครือข่าย อยู่ที่อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด และเป็นสมาชิกชมรมที่มีความมุ่งมั่นที่จะผลิตต้นพันธุ์เพื่อบริการให้กับผู้ สนใจ ในปี 2552 มีต้นพันธุ์กว่าหมื่นต้น รับรองคุณภาพโดยชมรมไผ่เศรษฐกิจไทย ติดต่อ คุณบุญชู โทร. (086) 127-1256 ช่วยกันลดภาวะโลกร้อนด้วยการปลูกไผ่ นะคร้าบ…เจ้านาย…

สมัครสมาชิกทางชมรมไผ่เศรษฐกิจไทย ขอเรียนว่าไม่มีค่าสมัคร เพียงแต่ท่านสนใจ โทร. (089) 245-1411หรือ ส่งทาง E-mail ก็ได้

ฉบับ นี้คงต้องบอกผู้อ่านว่า ต้องติดตามต่อไป เพราะชมรมไผ่เศรษฐกิจไทย จะนำบทความและภาพจากการที่ได้เดินทางไปเยี่ยมแปลงเครือข่ายมาเขียนลงให้อ่าน จนกว่าจะครบทุกแปลง ส่วนเรื่องจัดสัมมนาสัญจรที่มีผู้ถามมา ทางชมรมกำลังวางแผนที่จะจัด ขอให้รออีกหน่อยนะครับ

ทรงยศ พุ่มทับทิม Songyotpu@hotmail.com

วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 21 ฉบับที่ 457

วิธีเพาะเมล็ดไผ่ (สามารถใช้กับไผ่ได้ทุกชนิด)

วิธีเพาะเมล็ดไผ่ (สามารถใช้กับไผ่ได้ทุกชนิด)


โรงเรือนควบคุมสภาพแวดล้อม
เรือนกระจก (Green House) หมายถึง เรือนต้นไม้ที่สร้างขึ้นอย่างมิดชิด ด้ายฝาหรือหลังคาเป็นกระจกทั้งหมด เพื่อให้แสงสว่างลอดผ่านได้ หลังคาโดยทั่วไปจะใช้กระจกฝ้า เพื่อลดแสงแดดที่จ้าเกินไปให้น้อยลง ด้านข้างอาจก่ออิฐเป็นกำแพงคอนกรีต เพื่อลดค่าใช้จ่ายลง ภายในเรือนกระจกสามารถควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น และการระบายอากาศ เรือนกระจกเป็นเรือนต้นไม้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมกับชนิดของพืช ซึ่งมีทั้งพืชเมืองร้อนและเมืองหนาว พืชแต่ละชนิดต้องการอุณหภูมิเพื่อการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน จึงต้องมีเรือนกระจกไว้ขยายพันธุ์และเลี้ยงพันธุ์ไม้ อุปกรณ์และเครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ในเรือนกระจก ได้แก่ เครื่องทำความร้อน พัดลงระบายอากาศและเครื่องฉีดน้ำ อุปกรณ์ที่ใช้ในเรือนกระจกจะต้องมีความพิถีพิถัน ดังนั้น การสร้างเรือนต้นไม้ประเภทนี้จึงต้องลงทุนสูงมาก จึงไม่เป็นที่นิยมเพราะได้ผลตอบแทนไม่คุ้มกับการลงทุน ส่วนมากสร้างขึ้นเพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ หรือเพื่อการศึกษาค้นคว้า

แบบของเรือนกระจก เรือนกระจกแบบต่าง ๆ ได้แก่ (1) แบบเพิง (lean-to) และ (2) แบบหน้าจั่ว (even-span) เรือนกระจกแบบเพิงมีหลังคาลาดด้านเดียว เรือนแบบนี้มักปลูกทางด้านใต้หรือตะวันออกของกำแพงหรือเรือนสำหรับปลูกพืช หรือปลูกทางด้านเหนือของกำแพงหรือเรือนสำหรับออกรากของกิ่งตัดชำ เรือนแบบหน้าจั่วมีหลังคาลาดลง ทั้งสองด้าน มีความกว้างและความลาดชันเท่ากัน ซึ่งอาจจะลาดอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ หรือตะวันออก ตะวันตกก็ได้ ในสองแบบนี้ นิยมใช้แบบหน้าจั่วกันมากกว่าเรือนกระจกแบบนี้ อาจสร้างหลังเดียวโดด ๆ หรือแยกจากเรือนที่อยู่ข้างเคียงที่เรียกว่าเรือนเดี่ยว (detached house) หรืออาจจะสร้างสองหลังหรือมากกว่าสองหลัง และมีรางน้ำเชื่อมติดกันเรียกว่า เรือนพ่วง (ridge and furrow house) เรือนเดี่ยวทำให้ระบายอากาศและรับแสงได้มากกว่า แต่ด้วยเหตุที่มีเนื้อที่กระจกมากกว่า จึงทำให้เรือนเดี่ยวสูญเสียความร้อนเป็นปัจจัยที่สำคัญในระหว่างฤดูหนาวไปมากกว่าส่วนเรือนพ่วง

ซ่อมแซมได้ลำบากกว่าและมักจะเก็บกักหิมะในภูมิอากาศของภาคเหนือไว้ในปริมาณมากเกินไป โดยทั่วไป เรือนเดี่ยวใช้ผลิตพืชผลหลายชนิดซึ่งต้องการอุณหภูมิแตกต่างกันหลายอย่างไปพร้อม ๆ กัน ส่วนเรือนพ่วงใช้เฉพาะผลิตพืชผลหลายอย่างซึ่งต้องการอุณหภูมิเหมือนกันโดยปลูกไปพร้อม ๆ กัน

การตั้งอุณหภูมิและการระบายอากาศโดยทั่วไป จะตั้งอุณหภูมิในเวลากลางคืนที่ 60 ํ F (11.5 ํC) ของอุณหภูมิลดลงถึงระดับสูงขึ้น Heater Thermostat จะเริ่มทำงานให้มีอุณหภูมิสูงขึ้น และเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 70 ํ F (24 ํC) Cooling thermostat

วิธีเพาะเมล็ดไผ่ (สามารถใช้กับไผ่ได้ทุกชนิด)

การเพาะเมล็ด

ไผ่เมื่อหมดอายุขัยจะออกดอกและตาย ปกติไผ่จะเริ่มออกดอกในเดือนพฤศจิกายน-มกราคม เมล็ดไผ่จะเริ่มแก่และร่วงหล่นประมาณเดือน มีนาคม-เมษายน เกษตรกรสามารถนำเมล็ดไผ่ที่ได้ไปทำการเพาะต่อไปโดยวิธีการดังนี้

การเก็บเมล็ดพันธุ์

- เมล็ดไผ่เมื่อแก่จัดจะร่วงลงพื้น เกษตรกรควรทำความสะอาดหรือถางโคนต้นให้เตียน เพื่อความสะดวกในการรวบรวมเมล็ดไผ่ หรือใช้วัสดุหรือตาข่ายรองรับเมล็ดพันธุ์ไผ่ กรณีเขย่าต้นให้เมล็ดร่วงจากต้น

- รวบรวม เมล็ดพันธุ์ไผ่ที่ได้ ทำการฝัดด้วยกระด้งก็จะได้เมล็ดที่สมบูรณ์

- นำเมล็ดที่สมบูรณ์มาขัด นวดเอาเปลือกออกโดยใช้พื้นรองเท้าแตะฟองน้ำ ขัดนวดเมล็ดบนกระด้ง และฝัดเอาเปลือกออก

- นำเมล็ดไผ่ที่ได้ไปผึ่งแดด ประมาณ 1 แดด ก็สามารถนำไปเพาะได้ เพื่อป้องกันแมลงและไม่ควรเก็บเมล็ดไว้เกิน 1 เดือน เพราะจะทำให้เปอร์เซ็นต์ความงอกลดลง

วิธีการเพาะกล้าไผ่

- เมล็ดไผ่ที่จะเพาะควรขัดเอาเปลือกนอกออกก่อนถ้าเพาะทั้งเปลือกนอกเมล็ดจะงอกช้าและเติบโตไม่สม่ำเสมอ

- นำเมล็ดไปแช่น้ำ 2 คืน หรือแช่เมล็ดด้วยน้ำอุ่นประมาณ 2 ชั่วโมงแล้วแช่น้ำอีก 1 คืน

- นำเมล็ดขึ้นจากน้ำ แล้วห่อหุ้มเมล็ดด้วยผ้ารดน้ำให้ชื้นอยู่เสมอประมาณ 2 คืน เมล็ดจะเริ่มงอก

- นำเมล็ดที่เริ่มงอกไปลงแปลงเพาะที่มีขี้เถ้าแกลบผสมดินและทรายรองพื้นหนาประมาณ 4 นิ้ว หว่านเมล็ดแล้วกลบด้วยดินหนาประมาณ 1 ซม. คลุมแปลงด้วยวัดสุคลุมดิน เช่น หญ้าแห้ง และฟางข้าว

- ทำการย้ายกล้า ภายหลังจากการเพาะลงแปลงแล้วประมาณ 15 วัน ซึ่งต้นกล้าไผ่ตงจะมีความสูงประมาณ 2-3 นิ้ว ย้ายกล้าที่แข็งแรงลงถุงเพาะและอนุบาลไว้ในเรือนเพาะชำ หรือในที่ร่มรำไร ประมาณ 6-8 เดือน ก็นำไปปลูกต่อไป

วิธีการเพาะเมล็ดไผ่บงหวาน

เริ่มจากเก็บเมล็ดไผ่บงหวานที่แก่จัด เพาะในกะบะเพาะ โดยมีวัสดุเล็กละเอียด เก็บความชื้นได้ดี รดน้ำทุกวัน แต่อย่าให้แฉะ ราว 7-10 วัน เมล็ดจะ เริ่มงอก จากนั้น 3-4 สัปดาห์ ย้ายกล้าลงชำในถุงพลาสติกที่เตรียมไว้ รดน้ำ อย่างสม่ำเสมอ เมื่อต้นแข็งแรงและสามารถดูแลทั่วถึงก็นำลงปลูกได้ หรืออาจจะใช้เวลาเตรียมต้น 6-12 เดือน จึงนำออกเผยแพร่ ทั้งนี้ ให้ แน่ใจว่านำไปปลูกลงแปลงแล้ว เปอร์เซ็นต์รอดมีมาก

วิธีการตอนกิ่งไผ่

หัวข้อนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ภาพเป็นสื่ออธิบายเสียมากกว่านะครับ เพราะผมไม่มีประสบการณ์ เนื่องจากได้ทดลองค้นหา "การตอนกิ่งไผ่" หรือ "วิธีตอนกิ่งไผ่" จากอินเทอร์เน็ตแล้ว ปรากฎว่า "ไม่เจอ" เลยจำต้องมาเขียนไว้ในหัวข้อนี้ เพื่อเป็นความรู้สำหรับสมาชิกที่ต้องการจะนำไปต่อยอด หรือ ขยายพันธุ์ไผ่ของตัวเอง หากสมาิชิกท่านใดเห็นว่ามีข้อบกพร่อง ก็ช่วยๆ กันแนะนำเพิ่มเติมได้ ผมคิดเองคนเดียว คงมีจุดบกพร่องเยอะเหมือนกัน

สำหรับวัสดุและอุปกรณ์ในการตอนกิ่งไผ่

1. ขุยมะพร้าว

2. ถุงพลาสติก ขนาด 3x5 หรือ ตามขนาดของกิ่งไผ่

3. เชือกฟาก หรือ ด้าย หรือ ตอก หรือ ตัวรัด (เหมือนในภาพ)

4. มีดพร้า หรือ ขวานเล็กๆ สำหรับการผ่าตากิ่งไผ่

วิธีตอนกิ่งไผ่

1. นำขุยมะพร้าวแช่น้ำไว้ให้ชุ่ม หรือจะแช่ไว้สักคืนหนึ่งก็ได้นะครับ

2. นำขุยมะพร้าวใส่ถุงพลาสติก (ดังภาพ) รัดปากให้แน่นด้วยหนังยางหรือเชือกฟาง

3. ใช้มีดผ่าครึ่งถุงพลาสติก เพื่อเปิดช่องไว้สำหรับทางกิ่งไผ่

4. ใช้มีดผ่ากิ่งไผ่ จากด้านบนลงสู่ด้านล่าง อย่าให้ขาดนะครับ ให้เหลือเปลือกไผ่บางๆ ติดกับลำต้นไว้

5. นำถุงพลาสติกห่อขุยมะพร้าวที่เตรียมไว้หุ้มกิ่งไผ่ส่วนโคนที่ถูกผ่าออก แล้วมัดด้วยเชือกฟาง หรือ สายรัด ผูกแน่นติดกับลำไผ่

6. เมื่อรากของกิ่งไผ่ออกเต็มแล้ว ก็ให้ตัดกิ่งลงมาเตรียมเพาะชำ โดยให้เหลือปล้องไว้ 2-3 ปล้องครับ

เทคนิคการตอนกิ่งไผ่

1- หากต้องการให้รากของกิ่งไผ่ออกเร็วๆ เปลือกไผ่ส่วนที่ติดกับลำต้นไม้ควรให้เหลือมากเกินไป ควรเหลือไว้นิดเดียว

2- หากไม่ต้องการให้รากของไผ่ออกเร็ว ก็ไม่ต้องทำตามแบบข้อ 1

การเลือกกิ่งไผ่ที่จะตอน ต้องเลือก

http://www.kroobannok.com/view.php?article_id=15896&page=3

ไผ่ข้าวหลาม

ไผ่ข้าวหลาม

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cephalostachyum pergracile
ชื่อวงศ์ Gramineae
ชื่อสามัญ -
ชื่อทางการค้า -
ชื่อพื้นเมือง ไม้ข้าวหลาม (ทั่วไป) ไม้ป้าง (ภาคเหนือ) ขุยป้าง (เชียงใหม่) ว่าบลอ (กะเหรี่ยง) แม่พล้อง (กระเหรี่ยง กาญจนบุรี)

เป็นไผ่ขนาดกลาง ลำต้นลักษณะตรง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-8 ซม. เนื้อลำบางหนาไม่ถึง 5 มม. ปล้องยาวประมาณ 20-45 ซม. สูงประมาณ 7-30 ซม. มีสีเขียวปนเทา กาบมีสีหมากสุก กาบหุ้มลำหลุดร่วงง่าย มีการแตกกิ่งขนาดเท่า ๆ กันรอบข้อ

รูปทรง (เรือนยอด)

ใบ เป็นรูปลิ่มยาว 15-30 ซม. กว้าง 3-6 ซม. ขอบใบสากคม ครีบใบเห็นได้ชัดมาก ขอบมีขนสีจาง ๆ กระจังใบแคบมาก กาบหุ้มใบไม่มีขนหรือเกือบไม่มีขน ขอบกาบหุ้มใบมีขนสีขาว ๆ โคนใบกลม

ดอก จะออกดอกเป็นกลุ่ม(Gregariour flowering)ไม้ไผ่ที่ออกดอกประเภทนี้ จะออกดอกพร้อมๆกัน ครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง

สี -
กลิ่น -
ออกดอก-
ผล หน่อมีขนาดใหญ่
ผลแก่ -

ในธรรมชาติมักจะพบขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม ๆ ในป่าเบญจพรรณผสมสูงแล้ง ป่าเบญจพรรณผสมสูงชื้น ป่าดงดิบแล้ง และป่าดงดิบชื้น มีมากในประเทศไทย ซึ่งจะพบได้ทางภาคเหนือตอนเหนือของจังหวัดกาญจนบุรี และภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางส่วน

การขยายพันธุ์และการผลิตกล้า แยกเหง้าและเพาะเมล็ด ปริมาณเมล็ด/1 กิโลกรัม ประมาณ 37,000 เมล็ด

ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูก -

ดิน -

ความชื้น ต้องการความชื้นสม่ำเสมอตามบริเวณที่มีลำธาร และลำน้ำ

แสง -

การปลูกดูแลบำรุงรักษา

การคัดเลือกพื้นที่และเตรียมพื้นที่ปลูก ควรเตรียมพื้นที่ไว้ตั้งแต่ฤดูแล้ง ซึ่งจะทำงานได้สะดวกสามารถลงมือปลูกได้ทันในต้นฤดูฝน โดยในพื้นที่ที่เป็นแอ่ง ที่ลุ่มน้ำขัง มีเนิน หรือมีตออยู่ในพื้นที่ต้องไถบุกเบิก กำจัดตอออกให้หมด ปรับสภาพพื้นที่ให้เรียบ แต่ถ้าเป็นพื้นที่ราบอยู่แล้ว แค่ไถพรวนกำจัดวัชพืชอย่างเดียวก็พอ ในแหล่งที่สามารถให้น้ำได้ตลอดทั้งปี ก็สามารถปลูกไผ่ได้ตลอดปีเช่นกัน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือควรปลูกตั้งแต่ฝนเริ่มตก จนถึงปลายเดือนมิถุนายน หากฝนทิ้งช่วง ควรให้น้ำช่วย หลุมที่ปลูกไผ่ตงควรมีขนาด กว้างxยาวxลึก ไม่น้อยกว่า 50x50x50 เซนติเมตร ให้ใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟต 1 กระป๋องนม (ประมาณ 300-500 กรัม) ต่อหลุม ผสมปุ๋ยคอกเก่าที่สลายตัวแล้ว 1 บุ้งกี๋ (ประมาณ 1 กิโลกรัม) และยาฆ่าแมลงฟูราดาน 1-1.5 ช้อนแกง (10-15 กรัม) คลุกเคล้ากับดินบนให้ทั่วแล้วกลบกลับคืนลงไปในหลุม ให้ระดับดินสูงกว่าเดิมเล็กน้อยเผื่อสำหรับดินยุบตัวภายหลัง

วิธีการปลูกและระยะปลูกที่เหมาะสม ระยะเวลาที่เหมาะ ต่อการปลูกไผ่ อยู่ในช่วงฤดูฝน คือ ระหว่างเดือนพฤษภาคม - กันยายน เนื่องจาก ช่วง ระยะที่เริ่มปลูกไผ่ต้องการน้ำมาก การปลูกในช่วง ฤดูฝน จึงลด ค่าใช้จ่าย ในการรดน้ำ ลงได้มาก และเป็นระยะที่ไผ่มีการเจริญเติบโตดีที่สุดด้วย สำหรับ ระยะปลูก และจำนวน กล้าไผ่ต่อพื้นที่ ควรมีระยะปลูกประมาณ 8 x 8 เมตร หรือประมาณ 25 กอต่อไร่ หลุมที่ ี่ปลูก มีขนาดประมาณ 50 x 50 x 50 เซนติเมตร

โรคและแมลง มีโรคแมลงและศัตรูธรรมชาติ เหมือนกับโรคแมลงและศัตรูธรรมชาติของไผ่เลี้ยง

อัตราการเจริญเติบโต มีอัตราการเจริญเติบโต เหมือนกับอัตราการเจริญเติบโต ของไผ่เฮียะ

การเก็บรักษา มีวิธีการเก็บรักษา เหมือนกับการเก็บรักษาของไผ่เลี้ยง

การแปรรูป ลำอายุประมาณ 6-10 เดือนใช้ทำกระบอกข้าวหลาม เครื่องจักสานต่าง ๆ ลำแก่ใช้ในการสร้างบ้านเรือน โดยมากใช้ทำกลอนหลังคา สานเป็นฝาหรือเพดาน เป็นเสื่อแทนพรมปูบ้าน

การตลาด -

การบริโภค -

การนำเข้า -

การส่งออก -

การใช้ประโยชน์ทางด้านเนื้อไม้ ลำอายุประมาณ 6-10 เดือนใช้ทำกระบอกข้าวหลาม เครื่องจักสานต่าง ๆ
การใช้ประโยชน์ทางด้านนิเวศน์ -

การใช้ประโยชน์ทางด้านภูมิสถาปัตย์ ลำแก่ใช้ในการสร้างบ้านเรือน โดยมากใช้ทำกลอนหลังคา สานเป็นฝาหรือเพดาน เป็นเสื่อแทนพรมปูบ้าน

การใช้ประโยชน์ทางด้านโภชนาการ รับประทานได้แต่มีรสขม

การใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร

การที่ไม้ไผ่มีอายุขัยในการออกดอกและผลิตเมล็ดยาวนาน ไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ มีอายุขัยในการออกดอกแตกต่างกัน บางชนิดใช้เวลานาน 30-50 ปี ในขณะที่บางชนิดใช้เวลานานกว่า ร้อยปี อายุขัยในการออกดอกที่ยาวนานและไม่สม่ำเสมอเช่นนี้ เป็นอุปสรรคในการเก็บหาและรวบรวม ตัวอย่างที่จำเป็นในการจำแนกพันธุ์อย่างยิ่ง และข้อเสนอแนะ การทำสวนไผ่นั้นใช้เวลานานถึง 3 ปี จึงจะตัดหน่อได้ ช่วงเวลาที่ยังไม่ได้ตัดหน่อ พื้น ที่ว่างอาจปลูกพืชแซมเพื่อเพิ่มรายได้ เช่น ฟัก แฟง มันเทศ พริก มะเขือ หรือพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ และ ยังเป็นการเพิ่มธาตุอาหารแก่ดินอีกด้วย หลังจากไผ่ให้หน่อแล้วภายในสวนอาจร่มครึ้มมากขึ้น จึง เหมาะสำหรับปลูกไม้ประเภทต้นเตี้ยที่ขึ้นได้ดีในที่ร่ม เช่น กระชาย หรืออาจปลูกพืชเศรษฐกิจใหม่ ๆ เช่น สมุนไพรจำพวกเร่วและกระวานลงในสวนได้ หรือปลูกควบกับไม้ผลอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น กระท้อน ขนุน ส้มโอ เป็นต้น

ไผ่ซางหม่น...ไผ่สารพัดประโยชน์เป็นที่ต้องการของตลาด

“ไผ่ซางหม่น” ใครเคยได้ยินชื่อนี้บ้าง...บางคนอาจจะเคย บางคนอาจจะไม่เคย ก็แล้ว “ไผ่ซางนวล” ล่ะ ใครเคยได้ยินชื่อนี้บ้าง... บางคนอาจจะเคยได้ยินชื่อนี้มากกว่า ไผ่ซางหม่นก็เหมือนกับไผ่ซางนวลแหละ แต่ไผ่ซางหม่นมีขนาดลำใหญ่กว่าอย่างเห็นได้ชัด ไผ่ซางหม่นจัดเป็นไผ่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เส้นรอบวงประมาณ 30-50 เซนติเมตร ความยาวประมาณ 10-15 ซม. สีของลำสีเขียว มีคราบของแป้งสีขาวหรือวงขาวต่าง ๆ หรือสีขาวหม่น ชาวบ้านจึงเรียกว่า “ไผ่ซางหม่น” ตามลักษณะที่เกิดขึ้นของมันนั่นเอง

ไปเห็นไผ่ซางหม่นเพราะข้าพเจ้าได้ไปดูงานกับกรมป่าไม้ ไปดูงานที่ศูนย์วิจัยผลิตผลป่าไม้จังหวัดเชียงใหม่ ที่บ้านปางเฟือง หมู่ที่ 2 ตำบลปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ซึ่งมี คุณสุเทพ เฉียบแหลม เป็นหัวหน้าศูนย์ฯ

ลุงสมจิต มณีรัตน์ อยู่บ้านเลขที่ 510 หมู่ที่ 10 ต.เมืองงาย อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ นำไผ่ซางหม่นมาทำ เฟอร์นิเจอร์ ลุงบอกว่ามีพื้นที่ประมาณ 200 ไร่ ปลูกไม้สัก ยางพาราและไผ่ประมาณ 2,000 กอ รวมแล้วประมาณ 10 ไร่เพื่อใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งทำมาแล้วกว่า 3 ปี

ปัจจุบันมีการปลูกไผ่ซางหม่นในแถบภาคเหนือบริเวณจังหวัดแพร่ ลำพูน ลำปาง และเชียงใหม่ ตอนนี้เกษตรกรกำลังสนใจที่จะขยายพื้นที่ปลูกกันมากขึ้น เนื่องด้วยกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก ทั้งหน่อเพื่อการบริโภคและลำไผ่เพื่อป้อนโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์

ไผ่ซางหม่นจะเจริญเติบโต ได้ดีเมื่อผ่านปีที่ 4 ไปเพราะมีไผ่ลำใหญ่เป็นลำแม่ให้หน่อที่มีขนาดใหญ่ แต่หากมีการให้ปุ๋ยให้น้ำที่เหมาะสมก็อาจได้ผลผลิตอย่างมากตั้งแต่ปีที่สามเป็นต้นไป หากต้องการนำลำไม้ไผ่มาใช้ประโยชน์ด้านก่อสร้างหรือทำเครื่องเรือนที่มีราคาแพงควรเลือกลำไม้ไผ่ที่มีอายุ 4 ปีขึ้นไปเพราะลำไผ่ที่แก่มักไม่ถูกรบกวนจากมอดและแมลง ฉะนั้นหากมีวัตถุประสงค์ในการปลูกไผ่เพื่อผลิตทั้งหน่อไม้ และนำไม้ไปทำเฟอร์นิเจอร์ ควรปล่อยหน่อไม้ให้เป็นลำต่อไปโดยตัดกิ่งแขนงเล็ก ๆ บริเวณโคนต้นทิ้งไปเท่านั้น

เมื่ออายุ 2 ปีจะมีหน่อไม้แตกขึ้นมาอีก อาจจะคัดเลือกหน่อไม้ที่มีลักษณะไม่ดีออกไปจำหน่ายบ้าง โดยเลือกหน่อไม้ที่แทรกมาจากดินและมีขนาดใหญ่สมบูรณ์เก็บไว้ให้เป็นต้นใหม่ประมาณ 5-6 หน่อ ฉะนั้นเมื่อขึ้นปีที่ 3 จะมีลำประมาณ 8-10 ลำ

เมื่อครบอายุ 3 ปีจะมีหน่อจำนวนมาก สามารถตัดหน่อออกไปจำหน่ายได้ พอปีที่ 4 เป็นต้นไปก็สามารถตัดลำมาใช้ประโยชน์ได้แล้ว ก็นำมาทำเฟอร์นิเจอร์

ลุงบอกว่า ตอนแรกที่เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้มาแนะนำให้ปลูกพร้อมกับให้คำแนะนำในด้าน ต่าง ๆ เช่น การตอนกิ่ง การชำปล้อง จนได้กล้าพันธุ์มากพอจึงนำไปปลูก นอกจากทำเฟอร์นิเจอร์แล้ว หน่อของมันคือหน่อไม้ยังจำหน่ายได้ด้วย บางงวดขาย หน่อได้ราคาดีกว่าทำเฟอร์นิเจอร์ซะอีก ลุงบอกว่า หน่อไผ่ซางหม่นอร่อยมาก ๆ..รสชาติดีไม่ มีอะไรเหมือน เอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอม...

ไผ่ซางหม่นเหมาะมากที่ จะนำมาทำเฟอร์นิเจอร์ เพราะลำมันเปล้าตรง ความยาวของปล้องประมาณ 30-50 ซม. เป็นไผ่ที่มีลักษณะพิเศษคือ ไม่ค่อยมีกิ่งแขนง ไม่มีหนาม มีพุ่มใบอยู่ที่ปลายยอด

การนำมาทำเฟอร์นิเจอร์ลุงเขาก็มีกระบวนการนะ มิใช่อยู่ ๆ เอามาทำ งั้นมอดก็แทะเพลินสิ ขอบอกคร่าว ๆ ถึงขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ การคัดเลือกไม้ไผ่ การอาบน้ำยา การผึ่ง การอบ การขูดผิว เจาะรู การประกอบ และการทำสี

เฟอร์นิเจอร์ที่ลุงทำก็มีเตียง เก้าอี้ โซฟา โต๊ะ...ใครสนใจติดต่อที่ลุงได้ขายทั้งพันธุ์ หน่อ ลำ และที่นำมาแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์....มีความสุขไหม (คือเห็นคนอื่นเขามีความสุขเราก็มีความสุขด้วยไง) หากจะบอกว่าลุงเขามีรายได้กว่าแสนบาทต่อเดือน!.

ที่มา : www.dailynews.co.th

วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2552

วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ศูนย์พัฒนนาฝีมือแรงงาน จ.เพชรบุรี เปิดอบรม ฟรี

การประยุกต์ BSC และ KPIsในเชิงปฏิบัติ
Balanced Scorecard and Key Performance Indicators Implementation
ในยุคนี้เราค่อนข้างจะคุ้นเคยกับ BSC และ KPIs กันอย่างมาก คนที่รู้จัก KPIs ก็พยายามทำ KPIs อย่างเอาเป็นเอาตาย พยายามมอง KPIs เป็นยาวิเศษหม้อใหญ่ที่แก้ปัญหาได้ทุกอย่าง การทำ KPIs อย่างเอาเป็นเอาตายในปัจจุบันมีโอกาสสูงมากที่จะล้มเหลวเหมือนกิจกรรมทั้งหลายที่ดำเนินการกันมาแล้วในรูปแบบเดียวกันในอดีต เช่น QCC, Reengineering, suggestion และอีกมากมาย ที่พร่ำสอน และเรียนรู้กัน เพื่อต้องการหาหนทางสู่ความสำเร็จ BSC และ KPIs นั้นมีโอกาสอย่างมากที่จะล้มเหลว เมื่อนำมาใช้ในประเทศไทย หากเราไม่ยอมนั่งลงทำความเข้าใจกันอย่างจริงจัง และใจเย็น ความจริงแล้วการบริหาร BSC และ KPIs ให้ได้ผล เป็นเรื่องที่ควรจะทำให้เป็นธรรมชาติที่สุด และพยายามลดความยุ่งยากลงให้มากๆ สิ่งที่คำนึงถึงหลักๆ ก็มีไม่มาก เช่น ผลกระทบจากสิ่งที่สนใจหากเราทำสิ่งหนึ่ง แต่ไม่กระทบกับสิ่งที่เรากำลังสนใจ ก็แสดงว่าสิ่งที่ทำนั้นไม่สะท้อนกับสิ่งที่เรากำลังสนใจ วิธีการแก้นั้นเพียงแต่ไปหาวิธีการอื่นทำแทน หรือไปสนใจจุดอื่นที่น่าจะมีความเป็นไปได้แทนจุดเดิม ที่สุดเราก็จะสามารถบรรลุเป้าหมายได้
1. ทบทวนแนวคิดของ BSC และ KPIs
-คุณค่าธุรกิจ (Business Value)
-ดัชนีชี้วัดสมรรถนะ (BSC) 4 ด้าน
-สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการทำ KPIs and BSC

2. ศูนย์กลางกิจกรรมสู่การแสวงหา KPIs
3. สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการกำหนด KPIs
4. ตัวอย่างการพัฒนา KPIs และการทำ BSC จาก Benchmarking
5. ขบวนการทำในสิ่งที่ดีกว่า (Improvement Process)
6. การวัดสมรรถนะ (Performance Measurement)
7. ทีมงาน และการสนับสนุน
8. การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Job Appraisal)
-ความเชื่อเรื่องบุคลากร และองค์กร
- ความหมายของการประเมินผลการปฏิบัติงาน
- ความสำคัญของการประเมินผลการปฏิบัติงาน
- หลักการประเมินผลการปฏิบัติงาน
- ประโยชน์ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน
- ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน
- ผู้มีบทบาทในการประเมิน
-เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล
- แนวคิดเรื่อง “ค่าตอบแทน หรือประโยชน์”
- รูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน
- วิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน
- กระบวนการประเมินผลงาน
- การแจ้งผลการประเมินผลงาน
- ผลกระทบเมื่อการประเมินผลผิดพลาด
9. BSC & KPIs เพื่อการประเมินผลงาน(Performance Appraisal)
-ปัจจัยภายนอกกับความจำเป็นในการปรับรูปแบบการประเมินผล
- แบบจำลองการประเมินผลงาน
-แนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงลักษณะของการทำงาน
-การประเมินโดยใช้ BSC หรือ KPIs
-ปัจจัยภายในกับความจำเป็นการในปรับรูปแบบการประเมินผล
-แนวทางการสร้างระบบการประเมินผลงานโดยใช้ BSC & KPIs
- เป้าหมายในการแก้ปัญหาการประเมินผล
- ตัวอย่าง KPIs
- การประเมินผลการปฏิบัติงานโดยใช้หลักผลงาน
- การออกแบบ KPIs
10. การทำให้ง่าย และน่าสนใจ
- การใช้การบันทึกข้อมูลแบบง่าย (ตารางบันทึก)
-การออกแบบให้งานที่ต้องทำลดลง และง่ายขึ้น
- การใช้กราฟ (ที่ธรรมดา)

11. แนวความคิดบางอย่างที่ทำในสิ่งที่ดีกว่า
หลักสูตร ตัวชี้วัดความสำเร็จในการปฏิบัติงาน
Key Performance Indicators(KPIs)
วันที่หนึ่ง
เวลา 08.15 -10.00น. บรรยาย หัวข้อ เหตุผลสำคัญที่ต้องมีการวัดผลความสำเร็จ โดย อาจารย์สมพงษ์ ส่งแสง
เวลา 10.00 -10 .30 น. เบรก
เวลา 10.30 -12.00 น. การบรรยายหัวข้อ การสร้างตัวชี้วัดที่ดี โดย อาจารย์สมพงษ์ ส่งแสง
เวลา 12 .00- 13 .00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00-14 .30 น. การบรรยายหัวข้อ องค์ประกอบของตัวชี้วัด โดย อาจารย์สมพงษ์ ส่งแสง
เวลา 14.30-14 .45 น. เบรก
เวลา 14.45-16.00 น. การบรรยายหัวข้อ การตั้งเป้าหมายการวัด โดย อาจารย์สมพงษ์ ส่งแสง
เวลา 16.00-17.00 น. การบรรยายหัวข้อ มิติของการประเมิน โดย อาจารย์สมพงษ์ ส่งแสง

วันที่สอง
เวลา 08.15 - 09.00 น. การบรรยายหัวข้อ Lead and Lag Indicators
เวลา 09.00 - 10.30 น. บรรยายหัวข้อ ประเด็นต่างๆที่ต้องคำนึงถึงในการสร้างตัวชี้วัด
โดย อาจารย์สมพงษ์ ส่งแสง
เวลา 10.30 - 10.45 น. เบรก
เวลา 10.45 - 12.00 น. Work shop การสร้างตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมินของแต่ละฝ่ายงาน
โดย อาจารย์สมพงษ์ ส่งแสง
เวลา 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00 - 14.30 น. Work shop แผนการดำเนินงานของแต่ละตัวชี้วัดโดย อาจารย์สมพงษ์ ส่งแสง
เวลา 14.30 - 14.45 น. เบรก
เวลา 14.45- 17.00 น. Work shop ตารางรายงานและตารางความรับผิดชอบโดย อาจารย์สมพงษ์ ส่งแสง